Search This Blog / The Web ค้นหาบล้อกนี้ / เว็บ

Tuesday, February 11, 2014

สถานที่ท่องเที่ยว มีชื่อระดับโลก เกาะภูเก็ต และพังงา | Phuket and Phang-nga


เกาะภูเก็ต และพังงา
Phuket and Phang-nga


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

จังหวัดพังงา 
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่มาก เป็นป่าชายเลนกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีเนื้อที่ป่าโดยรวมทั้งจังหวัดประมาณ 190,000ไร่ หรือประมาณ 18 % ของเนื้อที่ป่าชายเลนทั้งประเทศ  เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงานับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่งจนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และบริเวณพื้นน้ำในทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่ 80 % ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า  เกาะพระอาตเฒ่า  เกาะโบยน้อย  เกาะโบยใหญ่  เกาะรายาหริ่ง  เกาะพนัก  เกาะห้อง  เกาะปันหยี  เขาพิงกัน  เป็นต้น
ประวัติและภูมิประเทศ
ลักษณะโครงสร้างทางธรณี เป็นทิวเขา มีอายุประมาณ 100 ล้านปีภูมิประเทศทั่วไปของบริเวณนี้ มาจากลักษณะโครงสร้าง ที่มีรอยเลื่อน ชื่อทางธรณีวิทยาว่า "รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย" และ "รอยเลื่อนพังงา" นอกจากนั้นยังมีภูเขาหินตะกอน หินแปร แทรกสลับอยู่เป็นแนว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาหินปูนลูกโดด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดังกล่าวทำให้เกิดเป็นช่อง โพรง หรือถ้ำมากมาย ส่วนภูเขาหินดินดานบางแห่งสลายตัวกลายเป็นหย่อมเนินเขาขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง การยุบตัวของแผ่นดินทางด้านตะวันตกทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระ เว้า แหว่ง เกิดเป็นอ่าวและเกาะซึ่งเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดกระจายอยู่ตามฝั่งมากมาย
ได้ค้นพบหลักฐานก่อนประวัติศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2530 บริเวณเขาเต่าในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยพบหลักฐานเคยมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัย รวมถึงการฝังศพของผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการศึกษาของนักธรณีวิทยา โดยนำเอาฟอสซิลของหอยบริเวณถ้ำและเพิงผาตามเกาะและหินโผล่ในอ่าวพังงา พบว่า เมื่อประมาณ 11,000 ปี ที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลลดต่ำลงมากในช่วงยุคน้ำแข็งภูเขาหินที่เป็นเกาะแก่งดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงอยู่บนที่ดอน ไม่มีสภาพเป็นเกาะดังที่เป็นอยู่ ต่อมาประมาณ 8,00ปีมาแล้ว ระดับน้ำทะเลค่อยๆ ขยับสูงขึ้นจนสูงสุด คือ สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางในปัจจุบันถึง 4.5 เมตร และต่อมาในช่วง 4,500 ปีมาแล้ว ระดับน้ำทะเล (มีทั้งขึ้นสูงและลดต่ำกว่าปัจจุบัน) ในช่วงระหว่าง 3,500 ปีมาแล้วนั้น ระดับน้ำทะเลค่อนข้างจะคงตัว แต่ยังสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 2  เมตร และตั้งแต่ 1,500 ปีเป็นต้นมา ระดับน้ำทะเลสูงสุดกว่าปัจจุบันประมาณ 1.5 เมตร
หลักฐานทางโบราณคดี
ได้ค้นพบการดำรงชีวิตของกลุ่มชนก่อนประวัติศาสตร์ที่ทิ้งร่องรอยไว้ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาและบริเวณใกล้เคียง คือ มีกลุ่มชนเคยอาศัยในเขตจังหวัดกระบี่ และพังงา เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว อาจสัญจรไปมาและเข้าอยู่อาศัยตามเพิงผา และถ้ำได้โดยสะดวก โดยไม่ต้องอาศัยแพหรือเรือ แต่เวลาผ่านไปในช่วงระดับน้ำทะเลขึ้นสูง กลุ่มชนที่สืบเชื้อสายต่อมาได้ถอยร่นเข้ามาอาศัยอยู่บนพื้นที่ดอนภายใน และมีกลุ่มชนที่รู้จักการทำแพ เรือ สัญจรไปในอ่าวพังงาบ้าง แต่แหล่งเหล่านี้ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยถาวรในถ้ำและเพิงผา ด้วยเหตุนี้กลุ่มชนจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานใหม่ จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีความสามารถทางทะเล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานและการเข้ามาอยู่อาศัยของกลุ่มชนก่อนประวัติศาสตร์ในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ปรากฏจากแหล่งโบราณคดี สันนิษฐานว่าเป็นงานสร้างสรรค์ ของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาเขียน เกาะปันหยี เขาระย้า ถ้ำนาค และเกาะพระอาตเฒ่า  
โบราณวัตถุที่พบที่เขาพังงามีเครื่องกะเทาะหินหลายชิ้น นอกจากนั้นพบเศษภาชนะดินเผาแบบเรียบ ลายเชือกทาบ หินลับ แกนหิน และสะเก็ด ที่มีร่อยรอยการกะเทาะ แต่ไม่มีลักษณะเป็นเครื่องมือที่ชัดเจนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ที่ เกาะพระอาตเฒ่า ยังมีการค้นพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ แบบเรียบ แบบลายเชือกทาบ ชิ้นส่วนขวานหินขัด เครื่องมือสะกัดหิน กระดูกปลามีรอยขัดฝน
ภาพเขียนหินบนผนังในอ่าวพังงา ส่วนใหญ่เป็นภาพลายเส้น มีการระบายสีบ้าง มีทั้งวาดเส้นด้วยสี เขียนด้วยสีอย่างแท้จริง และเขียนด้วยการหยดสี สะบัดสี มักเขียนด้วยสีแดง และสีดำ มีสีอื่นๆ บ้างแต่เป็นส่วนน้อย รูปลักษณะที่เขียนมีทั้งลักษณะที่เป็นรูปร่างของคนและสัตว์ เช่น ภาพคนแบกปลา ปลา กุ้ง ค่าง นก ช้าง และรูปลักษณะของสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ลายเส้นคล้ายยันต์หรือตัวอักษร ลูกศร เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เรือ เป็นต้น
เกาะในจังหวัดพังงา มีจำนวน 155 เกาะตั้งอยู่ใน 16 ตำบล 6 อำเภอ มีพื้นที่รวมประมาณ 440 ตารางกิโลเมตร เกาะที่มีพื้นที่มากสุด 3 ลำดับแรก คือ เกาะพระทอง เกาะยาวใหญ่ และเกาะคอเขา 
เกาะในจังหวัดพังงาส่วนมากตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล เช่น อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานเหล่านี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก เกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมท่องเที่ยว ได้แก่ เกาะพระทอง เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะตอรินลา เกาะปาจุมบา เกาะสะตอก เกาะสิมิลัน เกาะสี่ เกาะปันหยี เกาะเขาพิงกัน เกาะตาปู เกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย เกาะไข่ใน และเกาะไข่
นอก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 
แผนทีหมู่เกาะสิมิลัน พังงา ภูเก็ต
แผนทีหมู่เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน

เกาะเมี่ยง (เกาะสี่)

--------------------------------------------------------------------------

เกาะพระทอง

แผนที่เกาะพระทอง

เกาะพระทอง

เกาะพระทอง

-----------------------------------------------------------------------
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

แผนที่หมู่เกาะสุรินทร์

หมู่เกาะสุรินทร์
  
หมู่เกาะสุรินทร์


ชายหาดเกาะสุรินทร์


ชายหาดเกาะสุรินทร์
 -------------------------------------------------------------------------
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

 
 แผนที่อ่าวพังงา

เกาะหมาจู
 เกาะตาปู

เกาะห้อง
เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

เกาะเขาพิงกัน
  
เกาะเขาพิงกัน

 เกาะเขาพิงกัน

เกาะไข่

 เกาะไข่

เกาะไข่

ถ้ำลอด
----------------------------------------------------------------------------

เกาะยาวน้อย
ชายหาดเกาะยาวน้อย


สะพานเชื่อมระหว่างเกาะภูเก็ตและพังงา

 จังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ต ได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหิน และขวานหิน แสดงว่าเคยมีกลุ่มชนอาศัยในดินแดนแประมาณ 3,000 ปี มาแล้ว และได้มีหลักฐานกล่าวถึงดินแดนในแถบนี้ เมื่อประมาณ พ. ศ. 743  ( ค. ศ. 200 ) ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงแผ่นดินนี้ว่า แหลมตะโกลา เป็นผืนดินที่ยื่นลงมาทางใต้เป็นแหลมยา อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา เนื่องจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า "รอยเลื่อนคลองมารุย" (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน
สำหรับการเรียกชื่อภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.743 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก ของชาติยุโรป ระหว่าง พ.ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกชื่อ แผ่นดินนี้ของชาวทมิฬใน พ.ศ.1568 ว่า มณีคาม หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในพ.ศ. 2328 และได้เรียกชื่อเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวถึงตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณีคาม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย


สถาปัตยกรรมภูเก็ต สมัยก่อน

ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต    
ตั้งอยู่ ณ หัวมุมถนนนริศรติดกับถนนสุรินทร์ เป็นอาคารสถานที่ราชการที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๙๓ ตอนที่ ๓๙ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๐ ซึ่งเป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม



เนื่องด้วยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตมีดำริเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในการพัฒนามณฑลภูเก็ต รวมทั้งการย้ายที่ว่าการเมืองภูเก็ตซึ่งอยู่ในตลาดเพื่อความสง่างามและใช้ที่ตั้งเดิมทำเหมือง มีดำริให้ไปตั้งที่เขาโต๊ะแซะเป็นนิคมข้าราชการ โดยมีศูนย์กลางที่ศาลากลาง ดังนั้นพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ซึ่งได้เชิญชาวต่างชาติขุดแร่ดีบุกในเขตประทานบัตรบริเวณถนนหลวงพ่อ ถนนพังงา ถนนสุรินทร์ และถนนสุทัศน์ คือประทานบัตรแปลงด้านหน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต โดยให้ฝรั่งสร้างศาลากลางเป็นการแลกเปลี่ยนประทานบัตรการขุดแร่ดีบุกแปลงดังกล่าว บริษัทนั้นก็ให้ช่างชาวอิตาเลี่ยนสร้าง แต่ยังไม่ทันสร้าง พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ก็ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงคงมีการสร้างหลังจากนั้น และรัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จฯไปเปิดศาลารัฐบาล ในคราวเสด็จประพาสภูเก็ตครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐

ลักษณะอาคารเป็นอาคารมี ๒ ชั้น ชั้นบนของอาคารมีนาฬิกาโบราณซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานเป็นที่ระลึกเมื่อได้ทรงบัญชาราชการกระทรวงมหาดไทยมาครบ ๒๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕

วัดพระนางสร้าง
    ตั้งที่บ้านเคียน หมู่ ๑ ตำบลเทกระษัตรี อำเภอถลาง โบราณสถานแห่งนี้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๑ ตอนที่ ๒๗ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ เนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๖ ตารางวา




วัดพระนางสร้าง (วัดบ้านเคียน) หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดนางสร้างหรือนาสร้าง สร้างขึ้นสมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนเพียงแต่พิจารณาสถาปัตยกรรมและลักษณะพระพุทธรูปภายในวัดแล้ว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนพระอุโบสถได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง จนถึง พ.ศ.๒๔๕๔ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๖ จึงได้บูรณะอีกครั้งหนึ่ง โดยเปลี่ยนแปลงหลังคาเป็นกระเบื้องลูกฟูกแทนหลังคาสังกะสี ภายนพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปูนปั้นที่สำคัญอยู่ ๔ องค์ คือพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ๑ องค์ ส่วนอีก ๓ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสกุลช่างเมืองถลาง ซึ่งจัดอยู่ในศิลปะรัตนโกสินทร์

ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๒ ภูเก็ต ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถหลังเก่า สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัด มีพระอุโบสถสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสร้างด้วยดีบุก พระเจดีย์แปดเหลี่ยมสมัยรัตนโกสินทร์ หอระฆังและบ่อน้ำโบราณ

บ้านพระยาวิชิตสงคราม    
ตั้งอยู่ที่หมู่ ๓ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๑๒๘ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘ มีพื้นที่ประมาณ ๒๓ ไร่ ๑ งาน ๑๔ ตารางวา


มูลเหตุของการสร้างบ้านอันเนื่องมาจากใน พ.ศ. ๒๔๑๙ พวกกุลีจีนทำเหมืองแร่ ก่อความวุ่นวายขึ้นที่บ้านกะทู้ เกิดการปะทะกันกับพวกกุลีจีนต่างก๊ก ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์เหมืองแร่ มีการยกพรรคพวกเข้าตีกัน ความวุ่นวายต่างๆจึงเกิดขึ้น และในขณะนั้นทางการจึงต้องเข้าปราบปราม ทำให้พวกที่ตีกันเลิกรากันไปช่วงระยะหนึ่ง จุดเกิดเหตุที่ปะทะกันนั้นเป็นบริเวณใกล้กับบ้านเจ้าเมืองภูเก็ต (ทัต) เมื่อพวกกุลีชาวจีนถูกปราบปรามและเหตุการณ์อยู่ในความสงบแล้วเจ้าเมืองภูเก็ต (ทัต) หรือพระยาวิชิตสงคราม เห็นว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นต่อไป ภายหน้าอาจจะเกิดซ้ำสองได้ จึงได้มาสร้างบ้านขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านท่าเรือ (ในที่ดินมรดกของเจ้าเจิม เจ้าเมืองถลางท่าเรือ พ.ศ. ๒๓๕๒) ในปีเดียวกันนั้น และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) ก็ได้ย้ายเข้ามาอยู่ทั้งยังใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ทำการชั่วคราวอีกด้วย

โบราณสถานนี้มีบริเวณของเขตภายนอกสร้างเป็นแนวกำแพงอิฐล้อมรอบ กว้าง ๑๒๔ เมตร ยาว ๑๕๗ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร ความหนาของกำแพง ๖๐ เซนติเมตร ด้านบนสุดของกำแพงทำเป็นรูปใบเสมาเว้นช่องต่อช่วงห่างกันประมาณ ๓๐ ซม. ส่วนสูงของใบเสมา ๕๐ ซม. ตลอดแนวกำแพงภายนอกระหว่างกึ่งกลางของแต่ละด้านมีป้อมยามรักษาการณ์โดยมีประตูทางเข้าป้อมอยู่ภายใน ส่วนด้านในของกำแพงแต่ละมุมสร้างเป็นที่พักของทหารยาม คนรับใช้ และเป็นที่เก็บของ ส่วนอาคารที่ทำการสร้างตรงกับแนวประตูทางเข้า อยู่ลึกเข้าไปประมาณ ๖๕ ม. สร้างเป็นอาคารสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง ๑๗ ม. ยาว ๒๑ ม. ฐานอาคารสูงจากพื้นดินประมาณ ๑.๕ ม. ปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานของตัวอาคารให้เห็น ตรงด้านหลังของอาคารห่างออกไปประมาณ ๓๓ ม. มีสระน้ำขนาดกว้าง ๑๕ ม. ยาว ๒๐ ม. ด้านข้างของสระน้ำทั้งสองด้านทำทางระบายน้ำล้น ไหลผ่านเข้า-ออก โดยทำประตูระบายน้ำไว้ที่แนวกำแพง ส่วนตัวบ้านนั้นสร้างเป็นเรือนไม้ใกล้บริเวณสระน้ำ เป็นรูปทรงของบ้านแบบเดิม สันนิษฐานว่าคงเป็นแบบบ้านไทยมุสลิม เนื่องจากต้นตระกูลของพระยาวิชิตสงครามเป็นแขกอินเดีย ปัจจุบันไม่เห็นซากของตัวบ้านแล้ว
พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช บูรณะโบราณสถานบ้านพระยาวิชิตสงคราม ใช้งบประมาณ ๑,๕๐๐,๐๐๐.- บาท และใน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๒ ภูเก็ต ได้บูรณะปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง ใช้งบประมาณ ๙๕๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานขายประจำประเทศไทย ภาคใต้ตอนบน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ตั้งอยู่ที่ ๘/๑ ถนนระนอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ได้ประกาศเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๓ ง เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๙ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๗๘ ตร.วา
 


อาคารที่ทำการบริษัทการบินไทยจำกัด เจ้าของเดิมคือพระอร่ามสาครเขต มีอายุการก่อสร้างประมาณ ๗๐ ปีมาแล้ว โดยแบ่งอาคารออกเป็น ๓ ส่วน โดยส่วนแรกติดถนนระนอง และขายให้บริษัทเดินอากาศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ส่วนอื่นๆให้เช่าทำเป็นโรงเรียนและโรงพยาบาล ต่อมาบริษัทเดินอากาศไทยได้โอนย้ายมาอยู่รวมกับบริษัทการบินไทย

อาคารสำนักงานที่ดิน
ตั้งอยู่ที่ถนนดำรง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

พื้นที่โบราณสถาน เป็นพื้นที่อาคารประมาณ ๑ งาน ๗๔.๖๖ ตารางวา และพื้นที่บริเวณบันได ประมาณ ๕๖.๒๕ ตารางวา

อาคารสำนักงานที่ดิน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๖ ๒๔๙๕ ทางการได้ใช้เป็นที่ว่าการอำเภอทุ่งคา (อำเภอเมืองปัจจุบัน) ระหว่างนั้นได้มีการต่ออาคารไม้ สร้างเป็นห้องเพิ่มอีกข้างละห้อง ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงานที่ดินจังหวัด

ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (หลังเก่า)
ตั้งอยู่ที่ถนนมนตรี ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง
จากจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงกลุ่มอาคารทางราชการและสำนักงานไปรษณีย์โทรเลข ความว่า
 ที่นี้เดิมเป็นที่อยู่ของพระอนุรักษ์ (นุด) ซึ่งออกมาเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองภูเก็ต เรือนเป็นตึกสามชั้นอยู่ข้างจะกว้างขวาง มีเนศาลายาวๆชั้นเดียวอีกหลังหนึ่ง ออฟฟิศราชโลหกิจไปตั้งอยู่ ณ ตึกเล็กที่อยู่เดิมของบุตรพระยาวิชิตสงคราม ที่ทำการของรัฐบาลแยกย้ายกระจัดกระจายอยู่เป็นหลายหลังด้วยกัน แต่อยู่ในร่วมกำแพงอันเดียวกันทั้งสิ้น เรือนจำก็อยู่ติดกับที่นี่แต่มีกำแพงกั้นต่างหาก เรือนที่ขังนักโทษเป็นตึกใหญ่โถงไม่มีหน้าต่าง มีแต่ช่องลูกฟักอยู่รอมรอด เข้าใจว่าเดิมคงใช้เป็นคลังเก็บสิ่งของพระยาวิชิตสงคราม ที่ทำการของรัฐบาลนี้ได้ทราบว่ามีผู้ขอทำการขุดดีบุก เจ้ารัษฎากำลังคิดจะย้ายศาลารัฐบาลและสถานที่ต่างๆ ไปตั้งที่อื่น แต่ดูเหมือนจะทำสัญญายังไม่ตกลงกัน...
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวคอนกรีตเสริมเหล็กทาสีขาว ด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้น ๕ ขั้น เสาเป็นสี่เหลี่ยมเซาะร่องห่างๆ ราวลูกกรงปูนเรียบยาว มีหน้าต่างแบบเปิดบานคู่ เหนือบานเปิดเป็นช่องแสงไม้ตารางสี่เหลี่ยมกระจกใส มีหลังคาทรงปั้นหยา

ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๗ ง เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ มีพื้นที่โบราณสถาน ๑ ไร่ ๙๗ ตารางวา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
        มีอาคารอเนกประสงค์เน้นลักษณะของอาคารไทยภาคใต้เฉพาะถิ่น ที่เป็นเรือนไม้มีหลังคา ๓ ด้าน โดยมีด้านสกัดเป็นรูปจั่วยกพื้นสูง เสาเหลี่ยมหรือกลมหลังคามุงจาก โครงหลังคาเป็นเรือนฟูกคล้ายภาคกลาง ทางเข้าใหญ่อยู่ตรงด้านสกัดหน้าจั่วของอาคาร ผนังเป็นไม้กระดานแผ่นมีสลักถอดได้ มีหน้าต่างขนาดเล็ก พื้นเป็นไม้กระดานหรือไม้ไผ่ทุบ โครงเสาเป็นไม้ไผ่ ฝาเรือนเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ ยอดจั่วมักเป็นไม้ไผ่สานลายขัดปิดยอดจั่ว




การออกแบบตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ จึงดัดแปลงรูปแบบอาคารดังกล่าว มาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กเลียนแบบหลังคาเรือนเครื่องผูก ตัวอาคารมีลักษณะบ้านพื้นถิ่น แต่นำวัสดุสมัยใหม่มาประยุกต์ในการก่อสร้างเพื่อความคงทนถาวร จึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่ของการอนุรักษ์แบบบ้านโบราณซึ่งจากการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามพระบรมราชูปถัมภ์ในงานนิทรรศการ สถาปนิก ๓๐ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้รับรางวัลออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารที่ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อรางวัล Gold Medal ซึ่งเป็นผลงานของนายอุดม สกุลพานิชย์ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐

วัดมงคลนิมิตร
เป็นวัดเดียวในจีงหวัดภูเก็ตที่เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ เลขที่ ๓ ตำบลตลาดใหญ่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประชาชนส่วนใหญ่เรียกวัดนี้ว่า วัดกลาง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ สมัยที่ยังเป็นมณฑลภูเก็ตได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๘ วัดนี้เป็นวัดที่ทางราชการใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ เช่น สมัยที่เป็นมณฑลภูเก็ต ทางราชการก็ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำตลอดมาจนกระทั่งทางราชการยกเลิกพิธีกรรมนี้
นอกจากนี้วัดมงคลนิมิตร มีโรงเรียนที่อยู่ในความอุปการะของวัด คือ โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร โรงเรียนนี้มีพระภิกษุสงฆ์เข้ามาช่วยสอนและอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
ศาลเจ้าแม่กวนอิม 

บ้านชาวประมง ที่ราไวย์

บ้านคนเฝ้าสวนมะพร้าว ที่อ่าวขาม






     เกาะแก้วพิสดาร สถานที่ศักดฺ์สิทธิ์ จ. ภูเก็ต 
หลวงปู่ทวดเคยมาพัก พรรษา และพ่อท่านคล้าย วาจาศักดิ์สิทธิ์ เคยมาพักหลายพรรษา 
ท่านมีตาทิพย์และได้สร้างมณฑปครอบหิน
ซึ่งมีรอยพระพุทธบาทไว้ 

            เมื่อวันที่ 16-25 มกราคม ปี 2523 ได้ไปวิเวกปฏิบัติกรรมฐาน วัน คืน กับพระสหธรรมมิก 2 รูป (ลูกศิษย์พระอาจารย์เทสก์และสมเด็จพระญาณสังวร) มีสามเณร รูป และญาติ (ขณะนี้ยังบวชเป็นพระอยู่ในป่าที่พังงา) 
          ได้อธิษฐานอัญเชิญรอยพระพุทธบาทขึ้นมาปรากฏบนฝ่ามือเป็นสีแดงเข้มทั้ง พระบาทปรากฏอยู่นานหลายนาที  
พ่อท่านคล้ายวาจาศักดิ์สิทธิ์ท่านมีตาทิพย์เห็นพระพุทธบาท และได้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ ให้ผู้มีจิตศรัทธาได้บูชาพระพุทธบาท ทำให้ได้บุญกุศลมาก ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้มาบูชาพระพุทธบาท เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีรอยพระพุทธบาท

         แต่น่าเสียดายปัจจุบันมองไปไม่เห็นมณฑปซึ่งได้สร้างครอบพระพุทธบาทไว้แล้ว ทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต

 

                                      

รอยพระพุทธบาทแกะสลักบนหิน