อ่าวพังงา หมู่เกาะสิมิลัน และน้ำตก
Phang-nga bay, Similan islands and Waterfalls
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
อ่าวพังงา หมู่เกาะสิมิลัน (เกาะ 9) และน้ำตก
เกาะในจังหวัดพังงา มีจำนวน 155 เกาะตั้งอยู่ใน 16 ตำบล 6 อำเภอ มีพื้นที่รวมประมาณ 440 ตารางกิโลเมตร เกาะที่มีพื้นที่มากสุด 3 ลำดับแรก คือ เกาะพระทอง เกาะยาวใหญ่ และเกาะคอเขา
เกาะในจังหวัดพังงาส่วนมากตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล เช่น อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานเหล่านี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก
เกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมท่องเที่ยว ได้แก่ เกาะพระทอง เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะตอรินลา เกาะปาจุมบา เกาะสะตอก เกาะสิมิลัน เกาะสี่ เกาะปันหยี เกาะเขาพิงกัน เกาะตาปู เกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย เกาะไข่ใน และเกาะไข่นอก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นหมู่เกาะกลางทะเลอันดามันที่เป็นเลิศในด้านความงามของปะการังใต้ท้องทะเล อยู่ที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลอันดามัน มีทั้งหมด 9 เกาะ เรียงลำดับจากเหนือลงมาใต้ ได้แก่
1. เกาะหูยง / เกาะที่หนึ่ง มีหาดขาวยาวมาก
(สงวนไว้ให้เต่าทะเลวางไข่ื่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์)
(สงวนไว้ให้เต่าทะเลวางไข่ื่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์)
2. เกาะปายัง / เกาะที่สอง
(สงวนไว้ให้เต่าทะเลวางไข่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์)
(สงวนไว้ให้เต่าทะเลวางไข่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์)
3. เกาะปาหยัน / เกาะที่สาม
(สงวนไว้ให้เต่าทะเลวางไข่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์)
(สงวนไว้ให้เต่าทะเลวางไข่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์)
4. เกาะเมี่ยง / เกาะที่สี่ (มี 2 เกาะติดกัน) ใหญ่รองจากเกาะสิมิลัน
เป็นที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีน้ำจืด มีปูไก่
เป็นที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีน้ำจืด มีปูไก่
5. ส่วนหนึ่งของเกาะเมี่ยงที่อยู่ติดกัน (เป็นความคิดส่วนตัว)
6. เกาะปายู / เกาะที่หก
7. เกาะหัวกระโหลก / เกาะที่เจ็ด /เกาะหินบูชา
8. เกาะสิมิลัน / เกาะที่แปด (เป็นเกาะใหญ่สุด)
9. เกาะบางู / เกาะที่เก้า
มีที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อยู่ที่เกาะเมี่ยงเพราะเป็นเกาะที่มีน้ำจืด หมู่เกาะเหล่านี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความงามทั้งบนบกและใต้น้ำที่ยังคงความสมบูรณ์ของท้องทะเล สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก มีปะการังที่มีสีสันสวยงามหลายชนิด ปลาหลากสีสันและหายาก เช่น กระเบนราหู ปลาวาฬ ปลาโลมา ปลาไหลมอนเร่ ปลาการ์ตูน
เกาะหูยง (เกาะหนึ่ง) เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีหาดทรายขาวสะอาด และยาวมากที่สุดในเก้าเกาะ มักจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้เห็นร่องรอยของเต่าที่ขึ้นมาวางไข่บนชายหาดคล้ายกับรอยตีนตะขาบ
เกาะเมี่ยง (เกาะสี่) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองจาก เกาะสิมิลัน เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เพราะมีแหล่งน้ำจืด ชายหาดที่เกาะสี่จะมีสีขาวละเอียด น้ำทะเลใส บนเกาะสี่จะมีสัตว์ที่หาดูได้ยาก เช่น ปูไก่ ที่มีลำตัวเป็นสีแดงสด มีก้ามสีดำเหลือบน้ำเงิน เวลาร้องจะมีเสียงคล้ายไก่ จะเห็นได้ในช่วงหัวค่ำที่มันออกหากิน นกชาปีไหน เป็นนกประจำถิ่นขนาดใหญ่ตระกูลเดียวกับนกพิราบป่า มีสีสันและลวดลายบนตัวที่งดงาม จะพบได้ตามริมชายหาด ปูเสฉวน มากหลายขนาด
เกาะหัวกะโหลก-หินบูชา (เกาะเจ็ด) เป็นเกาะที่มีลักษณะเหมือนรูปหัวกะโหลก สภาพใต้น้ำสวยงามเหมือนหุบเขาใต้ทะเลที่เต็มไปด้วยปะการังอ่อน กัลปังหารูปพัดหลากสีสัน ฝูงปลานานาพันธุ์ และยังสามารถพบปลากระเบนราหู หรือฉลามวาฬได้มากแห่งหนึ่งในหมู่เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน (เกาะแปด)เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ในหมู่เกาะสิมิลัน ลักษณะอ่าวเป็นรูปโค้งเหมือนเกือกม้า มีหาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสีใสมรกต ใต้ท้องทะเลมีปะการังสวยงามหลายชนิด เช่นปะการังเขากวาง ปะการังใบไม้ ปะการังสมอง ปะการังดอกเห็ดขนาดใหญ่ กัลปังหา พัดทะเล กุ้งมังกร และปลาชนิดต่างๆ มีสีสันสวยงาม เป็นเกาะที่สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำลึกและน้ำตื้น ส่วนด้านเหนือของเกาะนั้นก็มีก้อนหินขนาดใหญ่รูปร่างแปลกๆ เช่น หินรูปรองเท้าบู๊ท รูปคล้ายหัวเป็ด บนแนวหาดมีหินรูปเรือใบ เป็นจุดชมวิว
เกาะบางู (เกาะเก้า) เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีโขดหินรูปลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะที่จุดดำน้ำ กองหินคริสมาสพอยต์เป็นกองหินใต้น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามสลับซับซ้อนกันเป็นบริเวณกว้าง จะมีแนวปะการัง และกัลปังหาที่สมบูรณ์ และยังเป็นที่อยู่ของปลาหลายชนิด เช่น ปลาไหลริบบิ้น ฉลามครีบเงิน ปลาเก๋า ปลาบู่ กั้งตั๊กแตน นักดำน้ำชอบมาดำน้ำที่นี่มาก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน บริเวณดำน้ำ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมาดำน้ำมากมาย
จุดดำน้ำลึก เช่น
เกาะตาชัย อยู่เหนือสุดของอุทยาน คุณจะได้พบกับปลาสาก ปลาค้างคาว ปลากระเบนราหู ฉลามวาฬ
เกาะบอนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะสิมิลัน คุณจะได้พบ ปลาฉลามครีบขาว ปลากระเบนราหู ปลาฉลามกบ
กองหินคริสต์มาสพอยต์ มีปลาไหลริบบิ้นสีฟ้า กั้งตั๊กแตน
กองหินแฟนตาซี อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะแปด เป็นจุดรวมของหินดอกไม้ ปะการัง กัลปังหา สัตว์น้ำหลากชนิด
จุดดำน้ำตื้น ได้แก่ อ่าวลึก อ่าวกวางเอง เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน บริเวณดำน้ำ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมาดำน้ำมากมาย
จุดดำน้ำลึก เช่น
เกาะตาชัย อยู่เหนือสุดของอุทยาน คุณจะได้พบกับปลาสาก ปลาค้างคาว ปลากระเบนราหู ฉลามวาฬ
เกาะบอนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะสิมิลัน คุณจะได้พบ ปลาฉลามครีบขาว ปลากระเบนราหู ปลาฉลามกบ
กองหินคริสต์มาสพอยต์ มีปลาไหลริบบิ้นสีฟ้า กั้งตั๊กแตน
กองหินแฟนตาซี อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะแปด เป็นจุดรวมของหินดอกไม้ ปะการัง กัลปังหา สัตว์น้ำหลากชนิด
จุดดำน้ำตื้น ได้แก่ อ่าวลึก อ่าวกวางเอง เป็นต้น
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
ท่าเรือทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายพังงา - ตะกั่วป่า และเป็นท่าเรือที่อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ที่สุด ประมาณ 40 กิโลเมตร
ท่าเรือทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายพังงา - ตะกั่วป่า และเป็นท่าเรือที่อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ที่สุด ประมาณ 40 กิโลเมตร
จากท่าเรือทับละมุใช้เวลาเดินทางไปหมู่เกาะสิมิลันประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง มีเรือให้เช่าหลายขนาด บริเวณท่าเรือทับละมุ มีที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
ท่าเรือคุระบุรี อำเภอคุระบุรี อยู่ห่างจากหมู่เกาะสิมิลัน 70กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 3 ชั่วโมง
ท่าเรือหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ก็สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันได้ ระยะทาง 70 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
ที่พัก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน โทร.076-421-365สำนักงานบนฝั่ง โทร.076-595-045
ท่าเรือคุระบุรี อำเภอคุระบุรี อยู่ห่างจากหมู่เกาะสิมิลัน 70กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 3 ชั่วโมง
ท่าเรือหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ก็สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันได้ ระยะทาง 70 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
ที่พัก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน โทร.076-421-365สำนักงานบนฝั่ง โทร.076-595-045
ปัญหาและการอนุรักษ์พื้นที่บริเวณโดยรอบของเกาะหนึ่ง สอง และสาม หรือ เกาะหูยง เกาะปายัง และเกาะปาหยันได้ถูกสงวนให้เป็นพื้นที่วางไข่ของเต่าทะเล และห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นเกาะโดยเด็ดขาด นอกจากนี้แล้ว
ในปี พ.ศ. 2543ทางกรมป่าไม้ได้สั่งปิดกองหินแฟนตาซี ซึ่งเป็นกองหินที่สวยงามติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก เนื่องจากสภาพของกองหินที่ทรุดโทรมลงอย่างมาก จากปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวมากเกินไป
นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญของหมู่เกาะสิมิลันอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาการลักลอบจับปลาอย่างผิดกฎหมายจากจากชาวประมงในพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณเกาะบอน และเกาะตาชัยที่พบปัญหาการระเบิดปลาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักของปัญหานี้ คือ ความห่างไกลของเกาะทั้งสองทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง
ในปี พ.ศ. 2550 ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ประกาศจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลัน
ในปี พ.ศ. 2550 ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ประกาศจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลัน
แผนที่เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน (เกาะแปด)
แผนที่เกาะสิมิลัน
แผนที่เกาะสิมิลัน
เกาะ 4, 5, 6, 7
หมู่เกาะสิมิลัน
ชายหาดเกาะ 4
ชายหาดหมู่เกาะสิมิลัน
ชายหาดเกาะ 4
จุดชมวิวเกาะสิมิลัน
ชายหาดเกาะ 4
น้ำทะเลหมู่เกาะสิมิลัน
ชายหาดหมู่เกาะสิมิลัน
ชายหาดหมู่เกาะสิมิลัน
โขดหินเกาะสิมิลัน
โขดหินเกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน และเกาะบางู
ชายหาดเกาะสิมิลัน
โขดหินและอ่าวเกาะสิมิลัน
ชายหาดหมู่เกาะสิมิลัน
โขดหินเกาะสิมิลัน
โขดหินเกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน และเกาะบางู
ชายหาดเกาะสิมิลัน
โขดหินและอ่าวเกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน
แหล่งดำน้ำหมู่เกาะสิมิลัน
ปลากระเบนราหู
ปลากระเบนราหูกับคน
ปลากระเบนราหู
ปลาฉลามวาฬ
ฝูงปลาเสือ
ปลาสีสวยๆ
ปลาสีสวยๆ
ปลาหมึก
ปลาการ์ตูน
ฝูงปลากับปะการังอ่อน
ฝูงปลากับปะการังอ่อน
หมู่ปะการัง
เต่ากระ และฝูงปลา
เต่ากระว่ายน้ำ
เต่าเฟืองว่ายน้ำ
เต่ากระว่ายน้ำ
เต่าเฟือง
เต่าเฟือง
เปรียบเทียบเต่าเฟืองกับคน
ลูกเต่าเฟือง
อ่าวพังงา และน้ำตก
Phang-nga bay and Waterfalls
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่มาก เป็นป่าชายเลนกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีเนื้อที่ป่าโดยรวมทั้งจังหวัดประมาณ 190,000ไร่ หรือประมาณ 18 % ของเนื้อที่ป่าชายเลนทั้งประเทศ เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงานับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่งจนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และบริเวณพื้นน้ำในทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่ 80 % ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า เกาะโบยน้อย เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เกาะปันหยี เขาพิงกัน เป็นต้น
ประวัติและภูมิประเทศ
ลักษณะโครงสร้างทางธรณี เป็นทิวเขา มีอายุประมาณ 100 ล้านปีภูมิประเทศทั่วไปของบริเวณนี้ มาจากลักษณะโครงสร้าง ที่มีรอยเลื่อน ชื่อทางธรณีวิทยาว่า "รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย" และ"รอยเลื่อนพังงา" นอกจากนั้นยังมีภูเขาหินตะกอน หินแปร แทรกสลับอยู่เป็นแนว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาหินปูนลูกโดด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดังกล่าวทำให้เกิดเป็นช่อง โพรง หรือถ้ำมากมาย ส่วนภูเขาหินดินดานบางแห่งสลายตัวกลายเป็นหย่อมเนินเขาขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง การยุบตัวของแผ่นดินทางด้านตะวันตกทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระ เว้า แหว่ง เกิดเป็นอ่าวและเกาะซึ่งเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดกระจายอยู่ตามฝั่งมากมาย
ได้ค้นพบหลักฐานก่อนประวัติศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2530 บริเวณเขาเต่าในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยพบหลักฐานเคยมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัย รวมถึงการฝังศพของผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการศึกษาของนักธรณีวิทยา โดยนำเอาฟอสซิลของหอยบริเวณถ้ำและเพิงผาตามเกาะและหินโผล่ในอ่าวพังงา พบว่า เมื่อประมาณ 11,000 ปี ที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลลดต่ำลงมากในช่วงยุคน้ำแข็งภูเขาหินที่เป็นเกาะแก่งดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงอยู่บนที่ดอน ไม่มีสภาพเป็นเกาะดังที่เป็นอยู่ ต่อมาประมาณ 8,000 ปีมาแล้ว ระดับน้ำทะเลค่อยๆ ขยับสูงขึ้นจนสูงสุด คือ สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางในปัจจุบันถึง 4.5 เมตร และต่อมาในช่วง 4,500 ปีมาแล้ว ระดับน้ำทะเล (มีทั้งขึ้นสูงและลดต่ำกว่าปัจจุบัน) ในช่วงระหว่าง 3,500 ปีมาแล้วนั้น ระดับน้ำทะเลค่อนข้างจะคงตัว แต่ยังสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 2 เมตร และตั้งแต่ 1,500 ปีเป็นต้นมา ระดับน้ำทะเลสูงสุดกว่าปัจจุบันประมาณ 1.5 เมตร
หลักฐานทางโบราณคดี
ได้ค้นพบการดำรงชีวิตของกลุ่มชนก่อนประวัติศาสตร์ที่ทิ้งร่องรอยไว้ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาและบริเวณใกล้เคียง คือ มีกลุ่มชนเคยอาศัยในเขตจังหวัดกระบี่ และพังงา เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว อาจสัญจรไปมาและเข้าอยู่อาศัยตามเพิงผา และถ้ำได้โดยสะดวก โดยไม่ต้องอาศัยแพหรือเรือ แต่เวลาผ่านไปในช่วงระดับน้ำทะเลขึ้นสูง กลุ่มชนที่สืบเชื้อสายต่อมาได้ถอยร่นเข้ามาอาศัยอยู่บนพื้นที่ดอนภายใน และมีกลุ่มชนที่รู้จักการทำแพ เรือ สัญจรไปในอ่าวพังงาบ้าง แต่แหล่งเหล่านี้ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยถาวรในถ้ำและเพิงผา ด้วยเหตุนี้กลุ่มชนจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานใหม่ จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีความสามารถทางทะเล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานและการเข้ามาอยู่อาศัยของกลุ่มชนก่อนประวัติศาสตร์ในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ปรากฏจากแหล่งโบราณคดี สันนิษฐานว่าเป็นงานสร้างสรรค์ ของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาเขียน เกาะปันหยี เขาระย้า ถ้ำนาค และเกาะพระอาตเฒ่า
โบราณวัตถุที่พบที่เขาพังงามีเครื่องกะเทาะหินหลายชิ้น นอกจากนั้นพบเศษภาชนะดินเผาแบบเรียบ ลายเชือกทาบ หินลับ แกนหิน และสะเก็ด ที่มีร่อยรอยการกะเทาะ แต่ไม่มีลักษณะเป็นเครื่องมือที่ชัดเจนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ที่ เกาะพระอาตเฒ่า ยังมีการค้นพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ แบบเรียบ แบบลายเชือกทาบ ชิ้นส่วนขวานหินขัด เครื่องมือสะกัดหิน กระดูกปลามีรอยขัดฝน
ภาพเขียนหินบนผนังในอ่าวพังงา ส่วนใหญ่เป็นภาพลายเส้น มีการระบายสีบ้าง มีทั้งวาดเส้นด้วยสี เขียนด้วยสีอย่างแท้จริง และเขียนด้วยการหยดสี สะบัดสี มักเขียนด้วยสีแดง และสีดำ มีสีอื่นๆ บ้างแต่เป็นส่วนน้อย รูปลักษณะที่เขียนมีทั้งลักษณะที่เป็นรูปร่างของคนและสัตว์ เช่น ภาพคนแบกปลา ปลา กุ้ง ค่าง นก ช้าง และรูปลักษณะของสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ลายเส้นคล้ายยันต์หรือตัวอักษร ลูกศร เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เรือ เป็นต้น
ถ้ำภาพเขียนโบราณ
เกาะหมาจู
ถ้ำลอด
แสตมป์ถ้ำลอด
เกาะปันหยี
เกาะปันหยี
เกาะปันหยี
เกาะปันหยี
เกาะปันหยี
เกาะปันหยี
เกาะปันหยี
เกาะห้อง
เกาะห้อง
เกาะห้อง
เกาะตาปู
เขาพิงกัน
เขาพิงกัน
เขาพิงกัน
เขาพิงกัน
เกาะห้อง เครื่องบินเจมส์บอน
เกาะห้อง ตกแต่ง ถ่ายทำภาพยนต์เจมส์บอน
เกาะห้อง หลังการถ่ายทำภาพยนต์เจมส์บอน
-------------------------------------------------------------------------------
น้ำตกในจังหวัดพังงา
Phang-nga's warterfalls
น้ำตกวนอุทยานสระนางมโนราห์ นบปริง เมือง พังงา
น้ำตกวนอุทยานสระนางมโนราห์ นบปริง เมือง พังงา
น้ำตกสวนใหม่ อุทยานศรีพังงา พังงา
น้ำตกปริวรรต (สองแพรก) กะปง พังงา
ป้ายน้ำตกรามัญ กระโสม พังงา
น้ำตกรามัญ กระโสม พังงา
น้ำตกรามัญ กระโสม พังงา
ป้ายอุทยานน้ำตกลำปี ท้ายเหมือง พังงา
น้ำตกลำปี
น้ำตกลำปี
น้ำตกลำปี
น้ำตกลำปี
ป้ายน้ำตกโตนไพร ท่าซอ ท้าเหมือง พังงา
น้ำตกโตนไพร ท่าซอ ท้ายเหมือง พังงา
น้ำตกโตนไพร ท่าซอ ท้ายเหมือง พังงา
น้ำตกโตนไพร ท่าซอ ท้ายเหมือง พังงา
ป้ายทางเข้าน้ำตกสายรุ้ง คึกคัก ท้ายเหมือง พังงา
น้ำตกสายรู้ง คึกคัก ท้ายเหมือง พังงา
น้ำตกสายรู้ง คึกคัก ท้ายเหมือง พังงา
น้ำตกสายรู้ง คึกคัก ท้ายเหมือง พังงา
น้ำตกสายรู้ง คึกคัก ท้ายเหมือง พังงา
น้ำตกหินลาด กะปง พังงา
เต่าทะเล (เต่ามะเฟือง) ขึ้นมาวางไข่
สะพานข้ามจังหวัดพังงาและภูเก็ต
แพขนานยนต์ข้ามฟากจังหวัดภูเก็ตและพังงา
พังงาและภุูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีผู้มาเยือนมากมายทุกปี เพราะมีธรรมชาติสวยงาม มีหาดทรายชายทะเล มีเกาะ มีน้ำตก
ReplyDeleteมีเอกลักษณ์เป็นของพังงาและภูเก็ต ล้วนแล้วแต่เป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานที่ถ่ายทำภาพยนต์
เจมส์บอน เรื่อง THE MAN WITH THE GOLDEN GUN ที่เกาะห้อง เกาะตาปู อ่าวพังงา เมื่อถ่ายทำเสร็จแล้วฉากที่เป็นถ้ำใช้
ทำเป็นที่ทำงานก็รื้อถอนออกไป เครื่องบินที่นำเข้ามาถ่ายทำฉากสำคัญเสร็จแล้วก็ทำลายที้งไป แต่ก็ยังมีภาพถ่ายที่ได้ถ่ายเอาไว้ให้ดูเป็นที่ระลีก และถ้ำลอดก็ได้รับความสนใจมากว่าสวยงามไม่แพ้ถ้ำลอดของต่างประเทศ ได้ทำเป็นแสตมป์ไว้ ก็มีให้ดูเป็นที่ระลึก แสตมป์เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ก็ทำไว้ให้ดู ที่หาดท้ายเหมืองมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ทุกปี มีประเพณีปล่อยลูกเต่าทุกปีเหมือนกัน
ที่ท้ายเหมืองนอกจากมีชายหาดสวยงามแล้ว ก็ยังมีน้ำตกลำปีสวยงายไม่แพ้ที่อื่นถึงกับมีผู้ชื่นชมแต่งเพลงน้ำตกลำปัไว้ เมื่อก่อนนี้พังงาและเกาะภูเก็ตยังไม่มีสะพานเชื่อมให้สัญจรไปมาสะดวกสบาย ต้องใช้เรือแพขนานยนต์บรรทุกคนและรถ แพรุ่นแรกๆเล็กกว่านี้มาก ต้องคอยกันนานกว่าจะข้ามฟากได้