เกาะในจังหวัดพังงา มีจำนวน 155 เกาะตั้งอยู่ใน 16 ตำบล 6 อำเภอ
มีพื้นที่รวมประมาณ 440 ตารางกิโลเมตร
เกาะที่มีพื้นที่มากสุด 3 ลำดับแรก คือ เกาะพระทอง เกาะยาวใหญ่ และเกาะคอเขา
เกาะในจังหวัดพังงาส่วนมากตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล เช่น อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานเหล่านี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก เกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมท่องเที่ยว
ได้แก่ เกาะพระทอง เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะตอรินลา เกาะปาจุมบา
เกาะสะตอก เกาะสิมิลัน เกาะสี่ เกาะปันหยี เกาะเขาพิงกัน เกาะตาปู เกาะยาวใหญ่
เกาะยาวน้อย เกาะไข่ใน และเกาะไข่
นอก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
แผนทีหมู่เกาะสิมิลัน พังงา ภูเก็ต
แผนทีหมู่เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน
เกาะเมี่ยง (เกาะสี่)
--------------------------------------------------------------------------
เกาะพระทอง
แผนที่เกาะพระทอง
เกาะพระทอง
เกาะพระทอง
-----------------------------------------------------------------------
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
แผนที่หมู่เกาะสุรินทร์
หมู่เกาะสุรินทร์
หมู่เกาะสุรินทร์
ชายหาดเกาะสุรินทร์
ชายหาดเกาะสุรินทร์
-------------------------------------------------------------------------
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
แผนที่อ่าวพังงา
เกาะหมาจู
เกาะตาปู
เกาะห้อง
เกาะปันหยี
เกาะปันหยี
เกาะเขาพิงกัน
เกาะเขาพิงกัน
เกาะเขาพิงกัน
เกาะไข่
เกาะไข่
เกาะไข่
ถ้ำลอด
----------------------------------------------------------------------------
ชายหาดเกาะยาวน้อย
สะพานเชื่อมระหว่างเกาะภูเก็ตและพังงา
จังหวัดภูเก็ต
ภูเก็ต ได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้
จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหิน และขวานหิน แสดงว่าเคยมีกลุ่มชนอาศัยในดินแดนแประมาณ 3,000 ปี มาแล้ว และได้มีหลักฐานกล่าวถึงดินแดนในแถบนี้ เมื่อประมาณ พ. ศ. 743 ( ค. ศ. 200 )
ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี
กล่าวถึงแผ่นดินนี้ว่า แหลมตะโกลา
เป็นผืนดินที่ยื่นลงมาทางใต้เป็นแหลมยา อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา
เนื่องจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า
"รอยเลื่อนคลองมารุย" (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา
ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ
และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่
จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า
ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร )
ในปัจจุบัน
สำหรับการเรียกชื่อภูเก็ตของชาวต่างประเทศ
ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.743 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี
เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง
ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก
ของชาติยุโรป ระหว่าง พ.ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน นอกจากนี้
ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกชื่อ แผ่นดินนี้ของชาวทมิฬใน พ.ศ.1568 ว่า มณีคาม
หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง
ฉบับที่ 1 ในพ.ศ. 2328 และได้เรียกชื่อเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต
ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น
จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวถึงตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น
ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณีคาม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต
ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย
สถาปัตยกรรมภูเก็ต สมัยก่อน
ตั้งอยู่ ณ หัวมุมถนนนริศรติดกับถนนสุรินทร์
เป็นอาคารสถานที่ราชการที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ ๑๙๓ ตอนที่ ๓๙ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๐
ซึ่งเป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม
เนื่องด้วยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ
สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตมีดำริเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙
ในการพัฒนามณฑลภูเก็ต รวมทั้งการย้ายที่ว่าการเมืองภูเก็ตซึ่งอยู่ในตลาดเพื่อความสง่างามและใช้ที่ตั้งเดิมทำเหมือง
มีดำริให้ไปตั้งที่เขาโต๊ะแซะเป็นนิคมข้าราชการ โดยมีศูนย์กลางที่ศาลากลาง
ดังนั้นพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ
ซึ่งได้เชิญชาวต่างชาติขุดแร่ดีบุกในเขตประทานบัตรบริเวณถนนหลวงพ่อ ถนนพังงา
ถนนสุรินทร์ และถนนสุทัศน์ คือประทานบัตรแปลงด้านหน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต
โดยให้ฝรั่งสร้างศาลากลางเป็นการแลกเปลี่ยนประทานบัตรการขุดแร่ดีบุกแปลงดังกล่าว
บริษัทนั้นก็ให้ช่างชาวอิตาเลี่ยนสร้าง แต่ยังไม่ทันสร้าง พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ
ก็ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงคงมีการสร้างหลังจากนั้น และรัชกาลที่ ๖
ได้เสด็จฯไปเปิดศาลารัฐบาล ในคราวเสด็จประพาสภูเก็ตครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒
เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐
ลักษณะอาคารเป็นอาคารมี ๒ ชั้น
ชั้นบนของอาคารมีนาฬิกาโบราณซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานเป็นที่ระลึกเมื่อได้ทรงบัญชาราชการกระทรวงมหาดไทยมาครบ
๒๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕
วัดพระนางสร้าง
ตั้งที่บ้านเคียน หมู่ ๑ ตำบลเทกระษัตรี อำเภอถลาง
โบราณสถานแห่งนี้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๑
ตอนที่ ๒๗ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ เนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๖ ตารางวา
วัดพระนางสร้าง
(วัดบ้านเคียน) หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดนางสร้างหรือนาสร้าง
สร้างขึ้นสมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนเพียงแต่พิจารณาสถาปัตยกรรมและลักษณะพระพุทธรูปภายในวัดแล้ว
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ส่วนพระอุโบสถได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง จนถึง พ.ศ.๒๔๕๔ ต่อมาใน พ.ศ.
๒๕๐๖ จึงได้บูรณะอีกครั้งหนึ่ง
โดยเปลี่ยนแปลงหลังคาเป็นกระเบื้องลูกฟูกแทนหลังคาสังกะสี
ภายนพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปูนปั้นที่สำคัญอยู่ ๔ องค์ คือพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ๑
องค์ ส่วนอีก ๓ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสกุลช่างเมืองถลาง
ซึ่งจัดอยู่ในศิลปะรัตนโกสินทร์
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่
๑๒ ภูเก็ต ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถหลังเก่า สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัด
มีพระอุโบสถสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสร้างด้วยดีบุก
พระเจดีย์แปดเหลี่ยมสมัยรัตนโกสินทร์ หอระฆังและบ่อน้ำโบราณ
บ้านพระยาวิชิตสงคราม
ตั้งอยู่ที่หมู่ ๓ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๑๒๘
เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘ มีพื้นที่ประมาณ ๒๓ ไร่ ๑ งาน ๑๔ ตารางวา
มูลเหตุของการสร้างบ้านอันเนื่องมาจากใน พ.ศ. ๒๔๑๙
พวกกุลีจีนทำเหมืองแร่ ก่อความวุ่นวายขึ้นที่บ้านกะทู้
เกิดการปะทะกันกับพวกกุลีจีนต่างก๊ก ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์เหมืองแร่ มีการยกพรรคพวกเข้าตีกัน
ความวุ่นวายต่างๆจึงเกิดขึ้น และในขณะนั้นทางการจึงต้องเข้าปราบปราม
ทำให้พวกที่ตีกันเลิกรากันไปช่วงระยะหนึ่ง
จุดเกิดเหตุที่ปะทะกันนั้นเป็นบริเวณใกล้กับบ้านเจ้าเมืองภูเก็ต (ทัต)
เมื่อพวกกุลีชาวจีนถูกปราบปรามและเหตุการณ์อยู่ในความสงบแล้วเจ้าเมืองภูเก็ต (ทัต)
หรือพระยาวิชิตสงคราม เห็นว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นต่อไป
ภายหน้าอาจจะเกิดซ้ำสองได้ จึงได้มาสร้างบ้านขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านท่าเรือ
(ในที่ดินมรดกของเจ้าเจิม เจ้าเมืองถลางท่าเรือ พ.ศ. ๒๓๕๒) ในปีเดียวกันนั้น
และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ พระยาวิชิตสงคราม (ทัต)
ก็ได้ย้ายเข้ามาอยู่ทั้งยังใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ทำการชั่วคราวอีกด้วย
โบราณสถานนี้มีบริเวณของเขตภายนอกสร้างเป็นแนวกำแพงอิฐล้อมรอบ กว้าง
๑๒๔ เมตร ยาว ๑๕๗ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร ความหนาของกำแพง ๖๐ เซนติเมตร
ด้านบนสุดของกำแพงทำเป็นรูปใบเสมาเว้นช่องต่อช่วงห่างกันประมาณ ๓๐ ซม.
ส่วนสูงของใบเสมา ๕๐ ซม.
ตลอดแนวกำแพงภายนอกระหว่างกึ่งกลางของแต่ละด้านมีป้อมยามรักษาการณ์โดยมีประตูทางเข้าป้อมอยู่ภายใน
ส่วนด้านในของกำแพงแต่ละมุมสร้างเป็นที่พักของทหารยาม คนรับใช้ และเป็นที่เก็บของ
ส่วนอาคารที่ทำการสร้างตรงกับแนวประตูทางเข้า อยู่ลึกเข้าไปประมาณ ๖๕ ม.
สร้างเป็นอาคารสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง ๑๗ ม. ยาว ๒๑ ม. ฐานอาคารสูงจากพื้นดินประมาณ
๑.๕ ม. ปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานของตัวอาคารให้เห็น
ตรงด้านหลังของอาคารห่างออกไปประมาณ ๓๓ ม. มีสระน้ำขนาดกว้าง ๑๕ ม. ยาว ๒๐ ม.
ด้านข้างของสระน้ำทั้งสองด้านทำทางระบายน้ำล้น ไหลผ่านเข้า-ออก
โดยทำประตูระบายน้ำไว้ที่แนวกำแพง
ส่วนตัวบ้านนั้นสร้างเป็นเรือนไม้ใกล้บริเวณสระน้ำ เป็นรูปทรงของบ้านแบบเดิม
สันนิษฐานว่าคงเป็นแบบบ้านไทยมุสลิม
เนื่องจากต้นตระกูลของพระยาวิชิตสงครามเป็นแขกอินเดีย
ปัจจุบันไม่เห็นซากของตัวบ้านแล้ว
พ.ศ. ๒๕๓๔
โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช
บูรณะโบราณสถานบ้านพระยาวิชิตสงคราม ใช้งบประมาณ ๑,๕๐๐,๐๐๐.- บาท และใน พ.ศ. ๒๕๔๑
โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๒ ภูเก็ต ได้บูรณะปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง
ใช้งบประมาณ ๙๕๐,๐๐๐ บาท
สำนักงานขายประจำประเทศไทย ภาคใต้ตอนบน บริษัทการบินไทย จำกัด
(มหาชน)
ตั้งอยู่ที่ ๘/๑ ถนนระนอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ได้ประกาศเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๓ ง
เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๙ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๗๘ ตร.วา
อาคารที่ทำการบริษัทการบินไทยจำกัด เจ้าของเดิมคือพระอร่ามสาครเขต
มีอายุการก่อสร้างประมาณ ๗๐ ปีมาแล้ว โดยแบ่งอาคารออกเป็น ๓ ส่วน
โดยส่วนแรกติดถนนระนอง และขายให้บริษัทเดินอากาศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐
ส่วนอื่นๆให้เช่าทำเป็นโรงเรียนและโรงพยาบาล ต่อมาบริษัทเดินอากาศไทยได้โอนย้ายมาอยู่รวมกับบริษัทการบินไทย
อาคารสำนักงานที่ดิน
ตั้งอยู่ที่ถนนดำรง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง
ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่มที่ ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
พื้นที่โบราณสถาน เป็นพื้นที่อาคารประมาณ ๑ งาน ๗๔.๖๖ ตารางวา
และพื้นที่บริเวณบันได ประมาณ ๕๖.๒๕ ตารางวา
อาคารสำนักงานที่ดิน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๙๕
ทางการได้ใช้เป็นที่ว่าการอำเภอทุ่งคา (อำเภอเมืองปัจจุบัน)
ระหว่างนั้นได้มีการต่ออาคารไม้ สร้างเป็นห้องเพิ่มอีกข้างละห้อง
ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงานที่ดินจังหวัด
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (หลังเก่า)
ตั้งอยู่ที่ถนนมนตรี ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง
จากจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้รัชกาลที่ ๖
เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงกลุ่มอาคารทางราชการและสำนักงานไปรษณีย์โทรเลข ความว่า
ที่นี้เดิมเป็นที่อยู่ของพระอนุรักษ์ (นุด)
ซึ่งออกมาเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองภูเก็ต
เรือนเป็นตึกสามชั้นอยู่ข้างจะกว้างขวาง มีเนศาลายาวๆชั้นเดียวอีกหลังหนึ่ง
ออฟฟิศราชโลหกิจไปตั้งอยู่ ณ ตึกเล็กที่อยู่เดิมของบุตรพระยาวิชิตสงคราม
ที่ทำการของรัฐบาลแยกย้ายกระจัดกระจายอยู่เป็นหลายหลังด้วยกัน
แต่อยู่ในร่วมกำแพงอันเดียวกันทั้งสิ้น
เรือนจำก็อยู่ติดกับที่นี่แต่มีกำแพงกั้นต่างหาก เรือนที่ขังนักโทษเป็นตึกใหญ่โถงไม่มีหน้าต่าง
มีแต่ช่องลูกฟักอยู่รอมรอด เข้าใจว่าเดิมคงใช้เป็นคลังเก็บสิ่งของพระยาวิชิตสงคราม
ที่ทำการของรัฐบาลนี้ได้ทราบว่ามีผู้ขอทำการขุดดีบุก
เจ้ารัษฎากำลังคิดจะย้ายศาลารัฐบาลและสถานที่ต่างๆ ไปตั้งที่อื่น
แต่ดูเหมือนจะทำสัญญายังไม่ตกลงกัน...
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวคอนกรีตเสริมเหล็กทาสีขาว
ด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้น ๕ ขั้น เสาเป็นสี่เหลี่ยมเซาะร่องห่างๆ
ราวลูกกรงปูนเรียบยาว มีหน้าต่างแบบเปิดบานคู่
เหนือบานเปิดเป็นช่องแสงไม้ตารางสี่เหลี่ยมกระจกใส มีหลังคาทรงปั้นหยา
ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๗ ง เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒
มีพื้นที่โบราณสถาน ๑ ไร่ ๙๗ ตารางวา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
มีอาคารอเนกประสงค์เน้นลักษณะของอาคารไทยภาคใต้เฉพาะถิ่น
ที่เป็นเรือนไม้มีหลังคา ๓ ด้าน โดยมีด้านสกัดเป็นรูปจั่วยกพื้นสูง
เสาเหลี่ยมหรือกลมหลังคามุงจาก โครงหลังคาเป็นเรือนฟูกคล้ายภาคกลาง
ทางเข้าใหญ่อยู่ตรงด้านสกัดหน้าจั่วของอาคาร ผนังเป็นไม้กระดานแผ่นมีสลักถอดได้
มีหน้าต่างขนาดเล็ก พื้นเป็นไม้กระดานหรือไม้ไผ่ทุบ โครงเสาเป็นไม้ไผ่
ฝาเรือนเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ ยอดจั่วมักเป็นไม้ไผ่สานลายขัดปิดยอดจั่ว
การออกแบบตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ จึงดัดแปลงรูปแบบอาคารดังกล่าว
มาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กเลียนแบบหลังคาเรือนเครื่องผูก
ตัวอาคารมีลักษณะบ้านพื้นถิ่น
แต่นำวัสดุสมัยใหม่มาประยุกต์ในการก่อสร้างเพื่อความคงทนถาวร
จึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่ของการอนุรักษ์แบบบ้านโบราณซึ่งจากการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามพระบรมราชูปถัมภ์ในงานนิทรรศการ
สถาปนิก ๓๐ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้รับรางวัลออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น
ประเภทอาคารที่ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อรางวัล Gold Medal ซึ่งเป็นผลงานของนายอุดม สกุลพานิชย์ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๐
วัดมงคลนิมิตร
เป็นวัดเดียวในจีงหวัดภูเก็ตที่เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่
เลขที่ ๓ ตำบลตลาดใหญ่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประชาชนส่วนใหญ่เรียกวัดนี้ว่า
วัดกลาง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓
สมัยที่ยังเป็นมณฑลภูเก็ตได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๘
วัดนี้เป็นวัดที่ทางราชการใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ เช่น
สมัยที่เป็นมณฑลภูเก็ต ทางราชการก็ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำตลอดมาจนกระทั่งทางราชการยกเลิกพิธีกรรมนี้
นอกจากนี้วัดมงคลนิมิตร มีโรงเรียนที่อยู่ในความอุปการะของวัด คือ
โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
โรงเรียนนี้มีพระภิกษุสงฆ์เข้ามาช่วยสอนและอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
ศาลเจ้าแม่กวนอิม
บ้านชาวประมง ที่ราไวย์
บ้านคนเฝ้าสวนมะพร้าว ที่อ่าวขาม
เกาะแก้วพิสดาร สถานที่ศักดฺ์สิทธิ์ จ. ภูเก็ต หลวงปู่ทวดเคยมาพัก 5 พรรษา และพ่อท่านคล้าย วาจาศักดิ์สิทธิ์ เคยมาพักหลายพรรษา ท่านมีตาทิพย์และได้สร้างมณฑปครอบหิน ซึ่งมีรอยพระพุทธบาทไว้
เมื่อวันที่ 16-25 มกราคม ปี 2523 ได้ไปวิเวกปฏิบัติกรรมฐาน 9 วัน 9 คืน กับพระสหธรรมมิก 2 รูป (ลูกศิษย์พระอาจารย์เทสก์และสมเด็จพระญาณสังวร) มีสามเณร 1 รูป และญาติ (ขณะนี้ยังบวชเป็นพระอยู่ในป่าที่พังงา) ได้อธิษฐานอัญเชิญรอยพระพุทธบาทขึ้นมาปรากฏบนฝ่ามือเป็นสีแดงเข้มทั้ง 2 พระบาทปรากฏอยู่นานหลายนาที พ่อท่านคล้ายวาจาศักดิ์สิทธิ์ท่านมีตาทิพย์เห็นพระพุทธบาท และได้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ ให้ผู้มีจิตศรัทธาได้บูชาพระพุทธบาท ทำให้ได้บุญกุศลมาก ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้มาบูชาพระพุทธบาท เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีรอยพระพุทธบาท แต่น่าเสียดายปัจจุบันมองไปไม่เห็นมณฑปซึ่งได้สร้างครอบพระพุทธบาทไว้แล้ว ทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต
ั
รอยพระพุทธบาทแกะสลักบนหิน
|
No comments:
Post a Comment